ความเป็นมาของโครงการ ฯ

โครงการเชื่อมโยงเครือข่ายระบบสื่อสารของกระทรวงมหาดไทย ด้วยระบบทางด่วนข้อมูล ระยะ 3

(พ.ศ.2547 –2549) เป็นการดำเนินการต่อเนื่อง   จากโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายสื่อสารของกระทรวงมหาดไทย ด้วยระบบทางด่วนข้อมูล ะยะ 1 (พ.ศ.2541 – 2543) และระยะ2 (พ.ศ.2544-2546) โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบและดำเนินการ  มีเป้าหมาย เพื่อให้มีเส้นทางการติดต่อสื่อสารระบบดิจิตอลที่มีเทคโนโลยีความเร็วสูงไว้บริการส่วนราชการครอบคลุมทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สามารถรองรับการใช้งานสื่อสารทั้งระบบโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์(Intranet & Internet) และระบบประชุมทางไกล(Video Conferencing System)  ได้อย่างสมบูรณ์

                                ในส่วนกลางดำเนินการติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเชื่อมโยงระหว่างส่วนราชการเพิ่มให้ครบทุกกระทรวง รวมถึง กรม และหน่วยงานอิสระ  ต่อขยายจากโครงการฯ ระยะที่ 1 และ 2 ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว   จากเดิมจำนวน 51 หน่วยงานเป็น 60 หน่วยงาน      พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารความเร็วสูง  Asynchronous Transfer Mode ( ATM) Switch    ที่ขนาดความเร็วไม่น้อยกว่า 155  Mbps และอุปกรณ์ประกอบอื่น      นอกจากนี้ยังได้มีการปรับปรุงระบบสื่อสารเครือข่ายหลักให้มีช่องสัญญาณขนาดความเร็ว  2.488 Gbps   และเพิ่มเส้นทางระบบสื่อสารเครือข่ายรองให้มีช่องสัญญาณขนาดความเร็ว 622 Mbps  เสริมงานของเครือข่ายหลัก

                                ในภูมิภาค ปรับปรุงอุปกรณ์ ATM Access เดิมที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต 12 จังหวัด เพื่อรองรับการใช้งาน ATM องจังหวัดลูกข่าย พร้อมปรับปรุงให้เชื่อมโยงไปยังศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป.มท. ที่ขนาดความเร็ว 2 Mbps. จำนวน 3 วงจร รวมขนาดความเร็ว 6 Mbps        ในระดับจังหวัดลูกข่าย ติดตั้งอุปกรณ์ ATM Access จำนวน 63 จังหวัด  เพื่อให้บริการแก่หน่วยงานในจังหวัด  รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลทั้ง ภาพ เสียง โทรศัพท์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต (Internet)    และเชื่อมโยงไปยังศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต ที่ขนาดความเร็ว 2 Mbps จำนวน 1 วงจร     และติดตั้งอุปกรณ์ประชุมทางไกลแบบ IP ( VCS on IP) ทุกจังหวัด

                                 
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

1.       ส่วนกลาง

§        เพิ่มจำนวนส่วนราชการที่ใช้เครือข่ายสื่อสาร ทางด่วนข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยจากเดิมจำนวน 51 หน่วยงานเป็น 60 หน่วยงาน  แต่ละส่วนราชการสามารถใช้บริการระบบประชุมทางไกลแบบ IP (VCS on  IP) ด้วยขนาดความเร็ว 384 Kbps  ระบบโทรศัพท์ขนาด 30 ช่องสัญญา   และระบบสื่อสารข้อมูลชนาดความเร็วไม่น้อย 2 Mbps  ด้วยเทคโนโลยี ATM  ที่มีขนาดความเร็วสูงตั้งแต่ 155Mbps - 2.488 Gbps บนเครือข่ายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง

§        มีระบบสั่งการและควบคุมเครือข่ายสำหรับระบบประชุมทางไกล(VCS) ที่เป็นเทคโนโลยีแบบ IP ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานการประชุมพร้อมกันได้ 100 แห่ง   ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

§       ปรับปรุงห้องประชุมของกระทรวงมหาดไทยให้มีระบบภาพ และเครื่อเสียงเป็นระบบ Digital

 

§       พัฒนาระบบเครือข่าย ที่กระทรวงมหาดไทยให้รองรับเทคโนโลยี TCP/IP ที่เต็มรูปแบบ ด้วยขนาดความเร็วสูง 10/100/1000  Mbps เพื่อรองรับระบบประชุมวิดีทัศน์ทางไกลผ่านจอภาพ(VCS) ที่เป็นเทคโนโลยีแบบ IP

§       ปรับปรุงสถานีสื่อสารดาวเทียมที่ส่วนกลางและช่องสัญญาระบบดาวเทียมให้มีประสิทธิภาพ

§       ปรับปรุงศูนย์กลางระบบตรวจสอบและป้องกันภัยที่อาจจะเกิดกับระบบสื่อสารข้อมูลและการใช้งาน Internet ทั้งเครือข่าย เช่น Hacker ,Virus ต่างๆ

§       มีช่องสัญญาณเครือข่ายเสมือนเครือข่ายส่วนบุคคล (VPN)  ไว้ให้บริการ แก่หน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่ต้องการความปลอดภัยสูง           

2.       ส่วนภูมิภาค

§       ปรับปรุงช่องสัญญาร่วมพร้อมขยาย (E1-IMA) ระหว่าง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต กับ จังหวัดลูกข่าย ให้มีขนาดความเร็ว 2 Mbps  และเป็น เทคโนโลยี ATM

§       พัฒนาระบบสื่อสารข้อมูลของ ศูนย์ราชการบนศาลากลางจังหวัด และ สามารถสื่อสารข้อมูลกับส่วนกลาง ด้วยเทคโนโลยี TCP/IP ที่เต็มรูปแบบ และความเร็วสูง  10/100/1000 Mbps บนเครือข่ายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง

§       ติดตั้งชุดควบคุมและสั่งการ (MCU) ของระบบประชุมทางไกล(VCS) ที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต 12 จังหวัด เพื่อใช้สำหรับการประชุมกลุ่มจังหวัด ของแต่ละศูนย์เทคโนโลยีสารนเทศและการสื่อสารเขต

§       ติดตั้งอุปกรณ์ประชุมทางไกลที่มีเทคโนโลยีแบบ IP (VCS on IP ) ทุกจังหวัด ด้วยขนาดความเร็ว 384 Kbps

§       ติดตั้งอุปกรณ์รองรับการให้บริการสื่อสารข้อมูลผ่านช่องสัญญาเสียงแบบ Digital (RAS)  ถึง 30 ช่องสัญญาในทุกจังหวัด

 

ที่ส่วนกลาง

ระบบบริหารจัดการคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย IP Service Switch

                     ติดตั้งอุปกรณ์บริหารจัดการคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ที่ ศสส.สป. รองรับการใช้งาน

                   + Virtual Private Dial Network การบริหาร User ของหน่วยงานต่าง ๆ โดยแยก Domain names

                   + Virtual Private Network การบริการเส้นทางพิเศษ  ทำให้หน่วยงานที่มี IP ซ้ำกันติดต่อกันได้

                       โดยใช้ NAT จัดการ

                   + Firewall การบริการรักษาความปลอดภัยข้อมูลในเครือข่าย

ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่าย (Security Network)

                     ติดตั้งอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย ที่ ศสส.สป. รองรับและบริการ ดังนี้

                   + การบริหารและจัดการระบบ

                   + การตรวจจับการบุกรุกเข้ามาในเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ มีติดตั้งที่ ศสข. ด้วยและจัดการควบคุม

                      จนถึงจังหวัดลูกข่าย

                   + การตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบ

                   + การตรวจสอบช่องโหว่ของระบบ

                   + การตรวจสอบสิทธิการเข้าใช้งานในระบบ

ระบบบริหารและจัดการเครือข่าย (Network Management System)

                     ติดตั้งอุปกรณ์บริหารและจัดการเครือข่าย ที่ ศสส.สป. สามารถบริหารและจัดการการทำงานของ

                             อุปกรณ์ ATM จนถึง Router Switch ที่ติดตั้ง ที่ ส่วนกลางและทุกจังหวัด

        

ในส่วนภูมิภาค

ระบบ Asynchronous Transfer Mode (ATM)

                     ติดตั้งอุปกรณ์ ATM Access 63 จังหวัด (เว้นจังหวัดที่มี ศสข.) รองรับการเชื่อมโยงกับศสข.ด้วยวงจร

                             ขนาดความเร็ว 2 Mbps

                     รองรับการใช้งานสื่อสารระบบโทรศัพท์ 30 ช่อง 512 Kbps ระบบประชุมทางไกล 384 Kbps และ

                             ระบบสื่อสารข้อมูล 1.5Mbps

ระบบโทรศัพท์

                     ติดตั้งแผงวงจรโทรศัพท์และอุปกรณ์ตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ (Auto Attendant) ขนาด 4 วงจร

                             ทุกจังหวัด รองรับการเรียกจากโทรศัพท์สาธารณะในจังหวัดเข้ามาเครือข่ายโทรศัพท์มหาดไทย

ระบบสื่อสารข้อมูล

                     ติดตั้งอุปกรณ์ Remote Access Service (RAS) ขนาด 30 ช่องสัญญาณเสียงทุกจังหวัด รองรับการเรียก

                             จากคอมพิวเตอร์ผ่านModem และวงจรจากโทรศัพท์สาธารณะในจังหวัดเข้ามาเครือข่ายสื่อสาร

                             ข้อมูลมหาดไทย

                      ติดตั้งอุปกรณ์ Switch ที่ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด รองรับการใช้งานสื่อสารข้อมูลด้วยเทคโนโลยี

                             TCP/IP ความเร็วสูง  10/100/1000 Mbps

ระบบประชุมทางไกล (video Conference System)

                     ติดตั้งอุปกรณ์ระบบประชุมทางไกลด้วยเทคโนโลยี IP (IP VCS)ขนาดความเร็ว 384 Kbps ที่ศาลากลาง

                             จังหวัดทุกจังหวัด

                     ที่ ศสส.สป..มีชุดควบคุม MCU บริหารจัดการอุปกรณ์ IP VCS ของทุกจังหวัดได้

                     ที่ ศสข.มีชุดควบคุม MCU บริหารจัดการอุปกรณ์ IP VCS ของจังหวัดลูกข่ายได้

สายเคเบิลใยแก้วนำแสง

                     ติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสง เชื่อมโยงระหว่าง ศสข. และ สสจ. (11แห่งที่ไม่อยู่บนศาลากลางจังหวัด)

                             กับศาลากลางจังหวัด

ระบบไฟฟ้า

                     ติดตั้งอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้ากระแสตรง อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ากระโชก อุปกรณ์สายดิน และอุปกรณ์จ่าย

                             ไฟฟ้าแบบต่อเนื่องทุกจังหวัด

 

+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+